Engineergas.com

ปลอดภัย มั่นใจในบริการ


 

 

           เข้าสู่ระบบสำหรับสมาชิก

           Username
          
           Password
           
              

   forget password
   Member Registration

 
เปิดวันจันทร์ - วันเสาร์ 
ตั้งแต่เวลา 09:00 - 18:00 น
หยุดทุกวันอาทิตย์

TOYOTA VIOS DUAL VVT-i

TOYOTA HILUX REVO

 



 

 

02-517-5688


 Side Page

 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 50 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
544 คน
121481 คน
3269627 คน
เริ่มเมื่อ 2012-11-03


                      

ศูนย์เอนจิเนียแก๊ส ยินดีต้อนรับครับ เปิดให้บริการวันจันทร์ ถึง วันเสาร์ ตั้งเต่เวลา 09:00 น. - 18:00 น. (หยุดทุกวันอาทิตย์)

เลือกระบบการจ่ายก๊าซ สำหรับรถยนต์
 

ระบบจ่ายก๊าซ โดยทั่วๆในโลกมีการใช้ระบบก๊าซมานานมากแล้ว และมีวิวัฒนาการไปหลายรุ่นมากผมจะกล่าวถึงระบบโดยรวมที่มีใช้ก่อนครับ มีดังนี้
1. Fix Mixture (ระบบแบบคาร์บูเรเตอร์)
2. Mixture Lamda Control (ระบบคาร์บูเรเตอร์แบบมีสัญญาณ Oxygen Sensor)
3. Fumigation (ระบบคาร์บูเรเตอร์ควบคุมร่วมกับ ECU และ Stepping Motor)
4. Multi point port (ระบบจ่ายก๊าซแบบแยก Port)
5. Sequential Injection (ระบบก๊าซแบบหัวฉีดแยกการทำงานอิสระ แปรผันตามค่าการฉีดเชื้อเพลิง)
6. Sequential Liquid Injection (ระบบก๊าซหัวฉีดแบบฉีดเชื้อเพลิงในสถานะของเหลว แปรผันตามค่าการฉีดเชื้อเพลิงหลัก)

 


 

 


 

1. ระบบ Fix Mixer
หลักการทำงานของระบบนี้ก็คือ การรีดความเร็วของอากาศผ่านรูของ MIXER ให้เกิดการผสมผสานของเเก๊สกับอากาศ ได้ดีเเล้วจ่ายผ่านลิ้นไอดีเข้าสู่กระบอกสูบ เพื่อทำการเผาไหม้โดยใช้หัวเทียนจุดระเบิด จึงสร้างพลังงาน ดังนั้นเพื่อให้เกิดการที่ทำงานที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์เเต่ระรุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าขนาดของรู MIXER ในรถเเต่ละรุ่นว่าจะมีขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเครื่องยนต์ สำหรับเรื่องนี้ว่าขนาดเท่าไหนนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของช่างที่ติดตั้ง ต่อมาการปรับจูนการจ่าย GAS ที่ใช้ FIX MIXER ค่อนข้างจะเป็นเรื่องยากสำหรับการปรับจูนให้ได้ดีที่สุดของเครื่องยนต์ เเต่เเล้วก็จะเกิดปัญหาในระบบน้ำมันปกติน้ำมันปกติ จะทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เช่น วิ่งไม่ออก, ความเร็วปลายได้ไม่เท่าเดิม เนื่องจาก FIX MIXER จะลดขนาดของท่อร่วมไอดีในตำแหน่งที่ติดตั้ง FIX MIXER ดังกล่าวมาเเล้ว
VARIABLE MIXER มีการทำงานเเตกต่างอย่างไร VARIABLE MIXER ทำงานโดยมีการเเปรผันหรือพูกง่ายๆ ก็คือ จ่ายเเก๊สตามเเรงดึงดูดของเครื่องยนต์ระบบ Fix mixture ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่าระบบมีการจ่ายก๊าซแบบคงตัว ก๊าซจะถูกแปรสภาพเป็นไอในหม้อต้มแล้วจ่ายมายังปากท่อร่วมไอดี ทีนี้เครื่องยนต์มันต้องการเชื้อเพลิงที่ไม่คงที่ตลอดทุกรอบความเร็วดังนั้นจึงต้องทำการลดมวลของอากาศลงโดยการใช้แหวนลดอากาศ จึงสามารถทำการปรับจูนส่วนผสมได้ง่ายขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าในรถที่ช่างติดตั้งไม่เคยทำมาก่อนจะมีการจูนเครื่องกันบ่อยมากเนื่องจากยังไม่มีสูตรสำเร็จออกมา ระบบแบบนี้จะเหมาะสมที่สุดกับเครื่องที่เป็นระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ แต่ก็ยังคงลดมวลอากาศอยู่ดี
ด้วยเหตุนี้เองการจ่ายเเก๊สจะทำให้เกิดความเหมาะสมในเเต่ละสภาวะของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเผาไหม้ หรือกำลังเครื่องยนต์ คงไม่ต้องถามว่าสมบรูณ์ไหม เมื่อย้อนกลับมา เราใช้น้ำมันปกติ VARIABLE ไม่ได้มีการลดขนาดขอท่อร่วมไอดี จึงสามารถทำให้อากาศที่เข้าสู้กระบอกสูบปกติ (เเรงเหมือนเดิม)
ผมของสรุปตรงนี้ก่อนว่าถ้าความคงที่กับการเเปรผันจะเเตกต่างกันหรือไม่ สำหรับการทำงานโดยมีการตรวจเช็คจาก Sensor เเละอื่นๆอีกจะมีความเเม่นยำมากกว่าเเน่นอนอยู่เเล้ว มาถึงเรื่องนี้เราจะพูดถึงระบบ ECU ก็คือหน่วยควบคุมด้วยอิเล็คโทรนิคเเล้วจากนี้ ECU จะทำงานให้ได้ความเหมาะสมตามความต้องการของเครื่องยนต์ โดยอาศัยSENSOR ต่างๆ ดังนั้นการติดตั้ง GAS LPG ในรถยนต์ระบบนี้มีความจำเป็นที่ต้องเอาสัญญาณจาก SENSOR เดิมที่มีอยู่มาควาบคุมในการจ่าย GAS เเต่ถ้าย้อนกลับมาถามว่า เเล้วเรื่องราคาเเน่นอนครับสูงขึ้น ความเเม่นยำเเน่นอน อีกเรื่องก็คือ ยังใช้ FIX MIXED อยู่
ต่อมาเรามาคุยเรื่องหัวฉัด GAS ก็ยังใช้กล่อง ECU GAS อยู่เพื่อความเเม่นยำในการจ่ายเเก๊ส เเตกต่างกันตรงไหน ตรงที่จ่าย GAS นั้นจะเข้าที่ท่อร่วมไอดีในตำแหน่งที่ใกล้กับฝาสูบ ทำให้ไม่เกิด BACK FIRE ในท่อร่วมไอดี (จ่ายตรงๆเหมือนหัวฉีดเบนซิน) ทั้งหมดที่ผมกล่าวมาก็คือ การจ่าย GAS เเล้วกลับมาใช้น้ำมัน เเตกกต่างกันอย่างไรเหตุผลต่อมาก็คือ ราคาการติดตั้ง พร้อมอุปกรณ์ อย่างไหนที่พอรับได้ ก็ลองตัดสินใจดูนะครับจะทำอย่างไรกับรถคุณที่ใช้อยู่

 


 

2. ระบบ Mixer Lamda Control

 


 

ระบบนี้ถูกพัฒนามาจากระบบ Fix เพื่อนำมาใช้งานกับรถยนต์ที่มีระบบ Oxygen Sensor ให้แปรผันค่าการจ่ายตามความต้องการเครื่องยนต์ โดยอิงค่าจากสัญญาณ Lamda จะถูกแบ่งการทำงานออกเป็น 3 Step คือ น้อย – กลาง – มาก ถ้าสัญญาณแจ้งส่วนผสมหนาระบบจะลดค่าจ่ายก๊าซลง ถ้าสัญญาณแจ้งส่วนผสมบางระบบจะจ่ายก๊าซมากขึ้น ถ้าช่วงเดินเบาต้องทำการปรับจูนให้ค่าสัญญาณ มีการแกว่งตัวอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงน้ำมันที่สุดระบบจึงสมบูรณ์ ที่จริงระบบ ที่ 1 และ 2 มันก็เป็นระบบแบบเดียวกันยังต้องลดมวลอากาศแต่ระบบจะแจ้ง Output ของเครื่องว่าต้องการเชื้อเพิงมาก – น้อย ขนาดไหน ต่อไปก็ชุด Lamda Control จะมีหัวควบคุมการจ่ายด้วย Vacuum และ Solenoid ตัวต่อมาเป็นชุดควบคุมการจ่ายก๊าซแบบ Fumigation สังเกตตรงหัวมันจะเป็น Stepping Motor ตัวนี้ควบคุมได้ 200 Step สั่งงานร่วมกับ ECU 8 Bit

 


 

 


 

ตัวนี้จะเป็น Multi Point Port สังเกตหัวจะใช้ Stepping เหมือนกับแบบ Fumigation

 


 

แต่..มันจะถูกเจาะ Port แยกออกมาตามสูบครับ ไม่จ่ายร่วมแบบ Mixer

 


 

ถ้าเป็น Sequential จะแยกหัวฉีดจากกันอิสระ ส่วนระบบที่เป็น Liquid ผมไม่มีให้ชมครับ ถ้าได้เห็นจะเอามาลงให้ใหม่ครับ

 


 

 


 

ECU
เป็นอุปกรณ์หลักในการควบคุมการทำงานของระบบจ่ายก๊าซ โดยรับสัญญาณ (คาบเวลา) การจ่ายเชื้อเพลิงของหัวฉีดน้ำมันและรอบการทำงานของเครื่องยนต์ ประมวลผลร่วมกับสัญญาณจากตัวตรวจจับอื่นอีกเพื่อหาค่าเวลาในการจ่ายก๊าซอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้แก่ ความดันของก๊าซในรางหัวฉีด (Injector rail) อุณหภูมิของก๊าซ อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นรอบการจุดระเบิด RPM และแรงดันแบตเตอรี่
Timing Advance Processor
อุปกรณ์ชุดนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อชดเชยความแตกต่างทางกายภาพของก๊าซและน้ำมัน ที่มีคุณสมบัติการเผาไหม้ต่างกันทำให้ต้องการเวลาในการเผาไหม้ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนช่วงเวลาของการจุดระเบิดให้เร็วขึ้นเนื่องจากก๊าซจะเผาไหม้ช้ากว่าน้ำมัน ซึ่งจะทำงานเฉพาะเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในระบบก๊าซเท่านั้น สัญญาณของวงจรจะเป็นการหลอกสัญญาณจากตัว crank shaft sensor หรือสร้างสัญญาณ crank shaft ขึ้นมาใหม่ทำให้มุมจุดระเบิดที่ระบบ Petrol ECU ได้รับกับตำแหน่งของ crank shaft ในเครื่องยนต์ไม่ตรงกัน มุมการจุดระเบิดที่เกิดขึ้นจึงเปลี่ยนไปจากค่าที่เป็นอยู่จริง
ระบบเก็บเชื้อเพลิง(Tank) และระบบจ่ายแก๊ส
องค์ประกอบ ในส่วนนี้คือถังที่ใช้จัดเก็บก๊าซ และระบบท่อส่งความดันสูง ซึ่งระบบนี้จะส่งผ่านเข้าสู่ระบบ Vaporiser โดยจะมีวาล์วควบคุมการทำงานทั้งหมดจากระบบควบคุมก๊าซ ECU สำหรับ Vaporiser จะแปลงแก๊สจากความดันสูงมาเป็นระบบความดันต่ำ เพื่อจ่ายให้สำหรับระบบหัวจ่ายเชื้อเพลิง ในระบบนี้รวมถึงท่อนำส่งก๊าซด้วย สามารถแบ่งประเภทของถังออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม
ประเภทที่ 2 ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือเส้นใยคาร์บอน ล้อมรอบส่วนทรงกระบอกของตัวถัง
ประเภทที่ 3 ทำด้วยอลูมิเนียมที่บางกว่าถังประเภทที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนรอบตัวถัง
ประเภทที่ 4 ทำด้วยพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนรอบตัวถังโดยถังประเภทแรกจะมีน้ำหนักมากที่สุด แต่ต้นทุนต่ำสุด
ส่วนประเภทที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่า แต่ต้นทุนค่อนข้างสูง
ระบบ Regulator
ใช้ในการลดแรงดันจากถังก๊าซให้อยู่ที่ระดับแรงดัน 2 bars แล้วจึงผ่านเข้าสู่ Filter เพื่อกรองอนุภาคต่างๆที่สกปรกออกจากก๊าซก่อนจ่ายเข้าสู่ Injector Rail ข้อมูลจากทางผู้ผลิต Filter จะใช้ได้ประมาณ 100000KM ในระบบ CNG และ 50000KM สำหรับ LPG ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพก๊าซในประเทศนั้นนั้นด้วย
หัวฉีดก๊าซ(Injector)
ทำหน้าที่จ่ายเชื้อเพลิงไปยังท่อไอดีและเข้าไปสู่ห้องเผาไหม้ จะประกอบด้วยโซลีนอยด์วาล์วซึ่งควบคุมการทำงานโดย ECU เป็นตัวกำหนดปริมาณการจ่ายเชื้อเพลิงไปยังแต่ละห้องเผาไหม้ เพื่อให้ได้อัตราส่วนระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์ หลักการทำงานของโซลีนอยด์วาล์ว ใช้ขดลวดสร้างสนามแม่เหล็กเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า เพื่อดึงเข็มที่ทำจากเหล็กขึ้นทำให้เกิดช่องทางของการไหล เมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าเข็มจะถูกผลักกลับ โดยสปริงทำให้ช่องทางการไหลถูกปิด

 


3. ระบบ Fumigation
จะว่าไประบบแบบนี้จะเป็นระบบ Mixer ที่สมบูรณ์ที่สุดก็ว่าได้ ระบบจะทำงานร่วมกับ ECU โดยรับสัญญาณจากเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็น Lamda , TPS(สัญญาณตำแหน่งลิ้นเร่ง) , RPM แม่นกระทั้งสัญญาณการฉีด(ส่วนใหญ่ไม่นำมาใช้แต่จะหลอกระบบหัวฉีดด้วย Emulator ) แล้วนำสัญญาณที่ได้มาประมวลผลเพื่อทำการบังคับ Stepling Motor เพื่อทำการจ่ายก๊าซตามสัญญาณที่ประมวลได้ ระดับการจ่ายก๊าซจะมีอยู่ประมาณ 150 – 200 Step ในบางรุ่นอาจสูงถึง 300 Step ดังนั้นกาสรลดมวลอากาศก็แทบจะไม่จำเป็น แต่ในเครื่องยนต์บางรุ่นอาจต้องลดมวลอากาศอยู่แต่น้อยกว่า 2 ระบบแรก

4. ระบบ Multi Point Port
เป็นระบบที่พัฒนามาจาก Fumigation การทำงานเหมือนกันทุกอย่างแต่จะมีการแยก Port ออกมาตามสูบที่จะใช้แยกจากกันอิสระ

5. ระบบ Sequential Injection
เป็นระบบที่มีใช้ล่าสุดในบ้านเรา ระบบทำงานร่วมกับ ECU มีการประเมินค่าจากสัญญาณการฉีดเชื้อเพลิงเป็นหลัก ในระบบบางยี่ห้ออาจต้องการที่จะประเมินผลให้มากขึ้นก็จะมีการจับสัญญาณ Lamda และ RPM เพื่อการประเมินผลช่วยด้วย เมื่อระบบประมวลผลการจ่ายเชื้อเพลิงได้สัญญาณการฉีดเชื้อเพลิงที่ประมวลผลได้ใหม่จะถูกส่งให้หัวฉีดก๊าซ การประมวลค่าการฉีดจะมีสัญญาณดิบจาก ECU ของน้ำมันเป็นตัวหลัก การเพิ่มหรือลดช่วงเวลาการฉีด จะถูก Oxygen Sensor ประมวลผล บางเพิ่ม หนาก็ลด ระบบแทบจะ Copy การทำงานของ ECU น้ำมันมาทั้งหมดและนำมาแต่งค่าให้เหมาะสมกับก๊าซที่ใช้ แต่ล่ะยี่ห้อจะแตกต่างกัน

6. ระบบ Sequential Liquid Injection
ทำงานแบบเดียวกับระบบ Sequential แต่ระบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้หม้อต้ม จะฉีดก๊าซเข้าไปในสภาพของเหลวแล้วขยายตัวภายในท่อร่วมไอดีเอง ข้อมูลที่มีตอนนี้น้อยมาก อุปกรณ์ก็เพิ่งเริ่มใช้ในอิตาลี คาดว่าถูกพัฒนาให้สามารถใช้ก๊าซ LPG ในเครื่องยนต์แบบ GDI ในอนาคต หรือ เครื่องยนต์ที่มี Turbo โดยไม่ต้องมีชุดอุปกรณ์เสริม ผู้ผลิตรายแรกคือ BRC

 ขอขอบคุณ Gasthai.com

 

 

 

ศูนย์เอนจิเนีย แก๊ส ถ.รามคำแหง ซ.รามคำแหง 203 มีนบุรี
สนใจ. 08-6327-9939, 02-517-5688 

เปิดให้บริการ วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 09:00 - 18:00 น

หยุดวันอาทิตย์    
E-mail : [email protected]

(ดูแผนที่)

 

Copyright (c) 2006 by www.engineergas.com



Powered by AIWEB